shutterstock_85401589s
shutterstock_305607704
shutterstock_150276857
  • หน้าแรก

  • เกี่ยวกับเรา

  • ข่าวและบทความ

  • กิจกรรม

  • ความก้าวหน้าและงานวิจัย

  • อบรม

  • สื่อการสอน

  • ส่งต่อผู้ป่วย

  • ติดต่อเรา

  • More

    ฉันควรจะบอกใคร และควรจะบอกอย่างไร ?

              โรคลมชักมิใช่เป็นโรคที่น่าละลายแต่อย่างใด ไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะต้องปกปิดบุคคลรอบข้างโดยเฉพาะผู้ที่ใกล้ชิดและมีความสำคัญต่อชีวิตคุณว่าคุณเป็นโรคลมชัก ไม่ว่าจะเป็นญาติสนิทมิตรสหายเพื่อนร่วมชั้นเรียน ครู หมอฟัน หรือที่ปรึกษาในเรื่องการเรียนและการกีฬาต่างๆ ของคุณ

                พวกเขาควรที่จะได้รับทราบ และมีคนที่รู้เรื่องนี้อย่างจริงจังน้อยมาก พวกเขาจะได้เข้าใจโรคของคุณและรับรู้ว่าคุณเป็นผู้หนึ่งที่มีโรคลมชัก เขาควรที่จะได้รู้จักอาการของโรค รวมทั้งวิธีการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคลมชักเช่นคุณ และที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือเขาควรจะได้ทราบว่าคุณเป็นเหมื่อนเช่นคนอื่นๆ เว้นแต่มีโรคลมชักเท่านั้น

                น่าเสียดายที่คนบางคนยังไม่เข้าใจโรคลมชักดีพอ คนเหล่านี้จะมองผู้ป่วยว่าแตกต่างไปจากคนปรกติอาจพยายามกีดกันผู้ป่วยว่าแตกต่างไปจากคนปรกติอาจพยายามกีดกันผู้ป่วยออกจากสังคมของพวกเขาโดยไม่มีเหตุผล แต่คนที่เข้าใจคุณ ชอบคุณ ในสภาพที่คุณเป็นอยู่นั้น มีอยู่มากมาย คุณจงให้ความสำคัญกับคนเหล่านั้น และที่สำคัญก็คือ มีคนไข้โรคลมชักจำนวนไม่น้อยที่มีความสามารถสูงและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

                การที่คุณจะบอกใครว่าเป็นโรคนี้ และควรบอกแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณคุยอยู่กับใครซึ่งคุณจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสม ครู หมอหรือพ่อแม่ของคุณอาจจะช่วยคุณตอบปัญหานี้ได้ คุณอาจจะพูดคุยกับผู้ป่วยโรคลมชักด้วยกันซึ่งอาจจะมีปัญหาคล้าย ๆ กับคุณ หมอของคุณอาจจะสามารถช่วยให้คุณได้พบกับผู้ป่วยคนอื่นหรือกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งคุณอาจจะปรึกษาหารือกันได้

                สำหรับผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อชีวิตคุณโดยตรง เช่น ครูหรือพยาบาลประจำโรงเรียน คุณควรจะให้เข้ารู้เกี่ยวกับเรื่องโรคลมชักของคุณ พอที่จะช่วยเหลือคุณได้เวลาที่เกิดปัญหาขึ้น บางครั้งครูของคุณและผู้ปกครองอาจจะต้องนั่งคุยกันเพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุดให้คุณ เอกสารนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่อาจช่วยให้เกิดควาเข้าใจอันดี

                เพื่อนสนิทอาจเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับโรคลมชัก และอาจให้ความช่วยเหลือได้หากพบคุณกำลังมีอาการชักต่อหน้า ซึ่งบางครั้งดูน่าตกใจสำหรับคนที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งบางครั้งดูน่าตกใจสำหรับคนที่ไม่เคยเห็นมาก่อน การที่คุณให้เวลาพูดคุยกับเพื่อนโดยตรงก็อาจเป็นผบดี ที่ทำให้เขาได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องจากตัวคุณเอง

     

     

    Tags:

    general

    Please reload

    family

    general

    Please reload

    Tags

    การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (ลมบ้าหมู) Generalized Tonic-Clonic Seizures หรือ GTC

    อาการชักแบบทำอะไรไม่รู้ตัว (Complex Partial Seizures, Psychomotor หรือ Temporal Lobe Seizures หรือ CPS)

    อาการชักแบบเหม่อ (Absence Seizures หรือ Petit Mal)

    แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคลมชักในขณะที่มีการตั้งครรภ์

    โรคลัมชักคืออะไร ?

    Please reload

    Recent Posts

    อะไรทำให้เกิดโรคลมชัก ?

    1/1
    Please reload

    Featured Posts
    Home

    โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 
    1873 ถนนพระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 

    โทรศัพท์ : 02-256-4627  โทรสาร : 02-256-4612

    • Facebook Social Icon
    • Twitter Social Icon
    • Google+ Social Icon
    • YouTube Social  Icon