shutterstock_85401589s
shutterstock_305607704
shutterstock_150276857
  • หน้าแรก

  • เกี่ยวกับเรา

  • ข่าวและบทความ

  • กิจกรรม

  • ความก้าวหน้าและงานวิจัย

  • อบรม

  • สื่อการสอน

  • ส่งต่อผู้ป่วย

  • ติดต่อเรา

  • More

    เกี่ยวกับยากันชัก

              หมอผู้ชำนาญเรื่องโรคลมชักจะเลือกยากันชักจากสภาพร่างกายและชนิดของโรคลมชักของคุณ คุณจะต้องกินยากันชักให้สม่ำเสมอและถูกต้องตามที่แพทย์สั่งเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ตอนเป็นเด็ก ญาติพี่น้องอาจช่วยเตื่อนคุณกินยาได้ แต่เมือคุณเข้าสู่วัยหนุ่มสาว คุณก็จำเป็นต้องดูแลตัวของคุณเอง

              จำไว้ว่ายากันชักนั้นไม่ใช่ยาที่จะช่วยรักษาสาเหตุของโรคลมชัก แต่จะช่วยลดอาการชักได้จนถึงทำให้อาการชักหายไปหมด บางครั้งคุณอาจไม่มีอาการชักเป็นเดือนแต่คุณยังต้องกินยาควบคุมไปเรื่อย ๆ ถ้าคุณหยุดยาเองหรือลดปริมาณยาเอง แม้ว่าคุณดูเหมือนไม่มีอาการชักมาเป็นเวลานาน แต่อาการก็อาจกลับมาใหม่ได้ หมอจะเป็นคนบอกเองว่าคุณจะหยุดยากันชักได้เมื่อไร และจะเป็นผู้ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงขนาดและชนิดของยาของคุณ

             คุณอาจจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีขึ้น โดยบันทึกวันเวลาและจำนวนของการชักที่เกิดทุกครั้งของคุณลงใน ปฏิทินบันทึกอาการชัก และนำมาให้หมอวิเคราะห์เพื่อจัดยาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น แต่หากคุณมีอาการไม่สบายเกิดขึ้นและสงสัยว่าจะเกิดจากยาคุณควรมาพบแพทย์ประจำของคุณเพื่อขอคำปรึกษาและปรับยาที่เหมาะสม เช่นเดียวกันคุณไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ผู้ดูแลไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีเหตุผลหรือซื้อยากินเองจากร้านขายยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคลมชักเพราะจะทำให้โอกาสหายของคุณลดน้อยลง หากคุณลืมกินยาตามกำหนดไปมื้อสองมื้อไม่ใช่เรื่องใหญ่ คุณเพียงแต่เตือนตัวเองอย่าให้ลืมกินยาในมื้อต่อไปเท่านั้น หากคุณกลัวว่าจะลืมกินยาให้ใช้วิธีจัดยาเป็นชุดๆ ในถ้วยเล็กๆ หรือตลับบรรจุยาซึ่งเขียนบอกเวลากินยาไว้ อย่าลืมเก็บยาไว้ให้พ้นมือเด็ก ๆ

     

     

    Tags:

    general

    Please reload

    family

    general

    Please reload

    Tags

    การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (ลมบ้าหมู) Generalized Tonic-Clonic Seizures หรือ GTC

    อาการชักแบบทำอะไรไม่รู้ตัว (Complex Partial Seizures, Psychomotor หรือ Temporal Lobe Seizures หรือ CPS)

    อาการชักแบบเหม่อ (Absence Seizures หรือ Petit Mal)

    แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคลมชักในขณะที่มีการตั้งครรภ์

    โรคลัมชักคืออะไร ?

    Please reload

    Recent Posts

    อะไรทำให้เกิดโรคลมชัก ?

    1/1
    Please reload

    Featured Posts
    Home

    โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 
    1873 ถนนพระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 

    โทรศัพท์ : 02-256-4627  โทรสาร : 02-256-4612

    • Facebook Social Icon
    • Twitter Social Icon
    • Google+ Social Icon
    • YouTube Social  Icon