แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคลมชักในขณะที่มีการตั้งครรภ์

เมื่อฉันอยู่ในวัยเจริญพันธุ์
แนวทางการรักษาโรคลมชัก เพื่อป้องกันความยุ่งยากซับซ้อนหากเกิดมีการตั้งครรภ์ คือ
แพทย์เลือกยากันชักที่เหมาะกับกลุ่มอาการชักของฉันเพื่อเป้าหมายควบคุมไม่ให้มีการชัก
ถ้าเป็นไปได้ แพทย์ควรเลือกให้ยากันชักเพียงชนิดเดียวและขนาดไม่สูงมากเพื่อควบคุมอาการชัก อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่ควบคุมอาการชักได้ยาก อาจจำเป็นต้องใช้ยากันชักมากกว่าหนึ่งชนิด
แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานโฟลิค 4-5 มิลลิกรัมต่อวันร่วมด้วย
เมื่อฉันยังไม่พร้อมในการมีบุตร แนวทางในการคุมกำเนิด คือ
ใช้ห่วยอนามัยคุมกำเนิดชนิดทองแดง (Copper-IUD) หรือ ห่วงอนามัยคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน (Levonorgestrel-IUS)
ใช้ยาฉีดคุมกำเนิด (Depot medroxyprogesterone acetate)
ไม่แนะนำการคุมกำเนิดด้วยยาเม็ดคุมกำเนินชนิดที่มีโปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียว (Progestogen-only pill) หรือยาฝังคุมกำเนิน (Implants) เนื่องจากมีระดับฮอร์โมนต่ำ เมื่อเกิดปฎิกิริยาระหว่างยาคมกำเนินกับยากันชัก ระดับฮอร์โมนคุมกำเนินในกระแสเลือดจะไม่เพียงพอส่งผลให้มีโอกาสตั้งครรภ
เมื่อฉันพร้อมที่จะมีบุตร ฉันควรทำอย่างไร
วางแผนการมีบุตรและแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อแพทย์อาจพิจารณาลดขนาดของยากันชัก พร้อมกันนี้ แพทย์จะได้ให้คำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมเข้าสู่การตั่งครรภ์
แพทย์ให้โฟลิค 4-5 มิลิกรัม รับประทานทุกวัน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในผู้ป่าวยโรคลมชัก
90% ของผู้ป่วยโรคลมชักที่ตั้งครรภ์และรับประทานยากันชัก สามารถให้กำเนิดบุตรที่สุขภาพแข็งแรง เหมือนกับผู้หญิงที่ไม่ได้เป็นโรคลมชัก
บุตรของสตรีที่เป็นโรคลมชักมีโอกาสเป็นโรคลมชักเมือโตขึ้นเพียง 3% ในขณะที่คนทั่วไปมีโอกาสเป็นโรคลมชักประมาณ 1% แต่หากบิดาเป็นโรคลมชักจะไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคลมชักในบุตรเมือเทียบกับคนทั่วไป
ในขณะตั้งครรภ์มีผู้ป่วยเพียง 17-37% ที่มีอาการชักเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ความถี่อาการชักเท่าเดิมปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาการชักเพิ่มมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ คือ การรับประทานยากันชักไม่สม่ำเสมอเนื่องจากความเข้าใจที่ว่า ยากันชักเป็นอันตรายต่อทารก การนอนที่ไม่เพียงพอและการลดลงของระดับยากันชักเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้นและขณะตั้งครรภ์
เนื่องจากความเสี่ยงจากยากันชักที่มีผลต่อทารกไม่ถึง 10 % และความเสี่ยงที่เกิดจากอาการชักอาจมากกว่าโดยเฉพาะอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว การรับประทานยากันชักที่สม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพที่แข็งแรงของทารกในครรภ์และมารดา
เมื่อฉันทราบว่าตั้งครรภ์ ควรทำอย่างไร
นัดพบอายุรแพทย์และสูติแพทย์ทันที่ที่ตรวจพบว่าตั้งครรภ์
ช่วงหลังคลอด
แพทย์ให้ Vitamin K1 มิลลิกรัม เข้าทางกล้ามเนื้อแก่ทารกแรกคลอด
มารดาควรพักผ่อนให้เพียงพอ
ถ้ามีการปรับขนาดของยากันชักเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ แพทย์พิจารณาปรับลดขนาดยากันชัก
การให้นมบุตร
เนื่องจากยากันชักที่มารดารับประทานมีหลายชนิดและหลายขนาด ซึ่งยาบางชนิดมีผลต่อทารกได้ ดังนั้นในการให้นมบุตรจำเป็นต้องปรึกษากุมารแพทย์เป็นรายๆ ไป
คู่มือแนวทางการดูแลรักษานี้ ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคลมชักในขณะที่มีการตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
Tags:


